Welcome

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดี ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2556

เนื้อหาการเรียนการสอนที่ได้รับ
พัฒนาการ
  • การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
  • ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
  • พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้านหรือทุกด้าน
  • พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
  • ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
  • ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
  • ปัจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด

สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคของระบบประสาท
  • ติดเชื้อ
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
  • ภาวะแทรกซ้อนระยะเเรกเกิด
  • สารเคมี  ได้แก่ ตะกั่ว/แอลกอฮอล์/Fetal alcohol syndrome (FAS)/นิโคติน
  • การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
  • อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • มีพัฒนาการล่าช้า ซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
  • ปฏิกิริยาสะท้อน (primtive reflex) ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป

แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
กล่าวโดยสรุปเมื่อซักประวัติแล้วจะทำให้สามารถบอกได้ว่า
1. ลักษณะพัฒนาการล่าช้าดังกล่าวเป็นแบบคงที่ (static) หรือถดถอย
            2. เด็กมีระดับพัฒนาการช้าจริงหรือไม่ อย่างไร อยู่ในระดับไหน
            3. มีข้อบ่งชี้ว่าจะมีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
            4. สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
            5. ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างไร
2. การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายที่สำคัญและอาจสัมพันธ์กับความบกพร่องทางพัฒนาการ ได้แก่
            2.1 ตรวจร่างกายทั่วๆไปทุกระบบ และการเจริญเติบโตที่อาจบ่งชี้สาเหตุที่ทำให้เด็กมีความบกพร่องทางพัฒนาการได้ เช่น ตรวจดูลักษณะผิดรูปของรูปร่างหน้าตา
            2.2  ภาวะตับม้ามโต  ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะ inborn error บางชนิด
            2.3 ผิวหนัง เช่น cutaneous markers ได้แก่ café-au-lait spots บ่งถึง tuberous sclerosis ซึ่งเป็นสาเหตุของพัฒนาการล่าช้าได้
            2.4 ระบบประสาทต่างๆ โดยละเอียดและวัดรอบศีรษะด้วยเสมอเพื่อที่จะสามารถตรวจพบเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการที่มีความรุนแรงไม่มากนัก
            2.5 ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (child abuse) เพราะเด็กพิเศษถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงอย่างหนึ่ง
            2.6 ระบบการมองเห็นและการได้ยินเพราะเป็นความพิการซ้ำซ้อนที่พบร่วมได้บ่อย
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
            3.1 การตรวจทางห้องปฏิบัติการพันธุกรรม
            3.2 การตรวจรังสีทางระบบประสาท
            3.3 การตรวจทางเมตาบอลิก
4. การประเมินพัฒนาการ
            4.1 การประเมินแบบไม่เป็นทางการ
            4.2 การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
            4.3 แบบทดสอบ Denver ll
            4.4 Gesell Drawing Test
            4.5 แบบประเมินพัฒนาเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด- 5 ปี
            4.6 สถาบันราชานุกูล
สะท้อนการเรียน
การประเมินพัฒนาการเด็กได้เหมาะสมตามวัยและได้นำความรู้ที่ได้รับในชั้นเรียนมาประยุกต์ใช้แล้วนำมาเป็นองค์ความรู้ต่อในรายวิชาอื่นต่อไปในอนาคต  รู้วิธีการแก้พฤติกรรมหรือกลุ่มอาการความผิดปกติในเด็กได้ทันท่วงทีและนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ได้เหมาะสมกับกลุ่มอาการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น