Welcome

วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 16

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557

 ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์ของการสอบปลายภาค


วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันการเข้ารียน ครั้งที่ 15

วันพฤหัสบดี ที่  13  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557

การเรียนการสอน
       อาจารย์สอนเรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ (LD) ส่วนใหญ่มักมีปัญหาทางการเรียน ดังนี้
  •  การดูแลให้ความช่วยเหลือ
  •  การสร้างแรงทางบวก
  •   รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือน
  •   งานแผนการจัดนำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
  •   สังเกตติดตามความสามารถ และการมีส่วนร่วมในชั้น
  •   IEP

การรักษาด้วยยา
  •   Ritalin มีใช้ในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่
  •   Dexedrine ใช้ในต่างประเทศ
  •   Cylert   ใช้ในต่างประเทศ

หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ
  •   สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สคส)
  •   โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
  •    ศูนย์การศึกษาพิเศษ (Early Intervention)
  •    โรงเรียนเฉพาะความพิการ
  •     สถาบันราชานุกูล

      สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการดู DVO เรื่อง เรียนอย่างไรใช้ศูนย์การศึกษาพิเศษ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กพิเศษ  ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  ได้ดังนี้
พัฒนาการในการช่วยบำบัดและส่งเสริมสำหรับเด็กพิเศษ
       1. การเคลื่อนไหวผ่านกิจกรรม เช่นการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็ก ร่วมทั้งการพัฒนาทักษะการพูด โดยการใช้ดนตรีเข้ามาช่วยในกิจกรรม
       2. การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กหรือสติปัญญา เช่น การตอบคำถามหลังจากการเล่านิทานจบ  กิจกรรมการจำแนกของที่มีลักณะเหมือนกัน เป็นต้น
       3. ทักษะการเข้าใจ  ฝึกการออกเสียง เพื่อใช้ในการสื่อสาร โดยกิจกรรม อย่างเช่น พูดเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวหรือการเรียกชื่อของตัวเอง
       4. ทักษะการใช้ภาษา การฝึกการประสานการทำงานระหว่างมือกับตา รวมกับสื่อสารกับบุคคลอื่นได้
       5. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง เช่นการฝึกทำอาหาร ขนม การรีดเสื้อผ้า ซึ่งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อเป็นความรู้ในการใช้ประกอบอาชีพได้ เช่น
  • โครงการที่ช่วยส่งเสริมและดูแลสำหรับเด็กพิเศษ
  • โครงการแม่ลูกผูกพัน
  • โครงการฝึกอาชีพ เด็กพิเศษสามารถช่วยเหลือและพึ่งตนเองได้

สะท้อนการเรียน
  •   การสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากเนื้อหาเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ (LD)
  •   การรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และการอภิปรายในเนื้อหาที่เรียน
  •    เข้าใจในเนื้อหาของเด็ก (LD) และวิธีการดูแล ร่วมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเข้ารเรียนครั้งที่ 14

วันพฤหัสบดี ที่  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557

       ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนไปศึกษาดูงาน

สะท้อนการเรียน
เด็กพิเศษ   Special Child
            เด็กพิเศษ มาจากคำเต็มว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษหมายถึงเด็กกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือเป็นพิเศษ เพิ่มเติมจากวิธีการตามปกติ ทั้งในด้าน การใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของเขาเอง โดยออกแบบการดูแล ช่วยเหลือเด็ก ตามลักษณะความจำเป็น และความต้องการของเด็กแต่ละคน
เด็กพิเศษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้
  • เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
  • เด็กที่มีความบกพร่อง
  • เด็กยากจนและด้อยโอกาส                                                         เด็กแต่ละกลุ่ม มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษเหมือนกัน แต่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละกลุ่ม แต่ละคน ในบทความนี้จะกล่าวถึงขอบเขตของเด็กพิเศษ แต่ละกลุ่มว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
  1. เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
  2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
  3. เด็กที่มีความบกพร่องทางการสื่อสา       
  4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และการเคลื่อนไหว
  5. เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์ และพฤติกรรม
  6. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disabilities)
  7. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities)
  8. เด็กออทิสติก (รวมถึงความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้านอื่นๆ - PDDs)
  9. เด็กที่มีความพิการซ้อน

         1 ) เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
       เด็กกลุ่มนี้มักไม่ค่อยได้รับการดูแล ช่วยเหลืออย่างจริงจัง เนื่องจาก เรามักคิดว่าพวกเขาเก่งแล้ว สามารถเอาตัวรอดได้ บางครั้งกลับไปเพิ่มความกดดันให้มากยิ่งขึ้น เพราะคิดว่าพวกเขาน่าจะทำได้มากกว่าที่เป็นอยู่อีก วิธีการเรียนรู้ในแบบปกติทั่วไป ก็ไม่ตอบสนองความต้องการในเรียนรู้ของเด็ก ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ทำให้ความสามารถพิเศษที่มีอยู่ไม่ได้แสดงออกอย่างเต็มศักยภาพ
เด็กที่มีความสามารถพิเศษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้
เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง คือ กลุ่มเด็กที่มี ระดับสติปัญญา (IQ) ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป
เด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน อาจไม่ใช่เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง แต่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านที่โดดเด่นกว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน อาจเป็นด้าน คณิตศาสตร์ - ตรรกศาสตร์ การใช้ภาษา ศิลปะ ดนตรี กีฬา การแสดง ฯลฯ
เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
         2) เด็กที่มีความบกพร่อง
       มีการแบ่งหลายแบบ ในที่นี้จะยึดตามแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ ที่แบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม ดังนี้
          3 ) เด็กยากจนและด้อยโอกาส
       คือเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน ขาดแคลนปัจจัยที่จำเป็นในการเจริญเติบโต และการเรียนรู้ของเด็ก และรวมถึงกลุ่มเด็กที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เด็กเร่ร่อน เด็กถูกใช้แรงงาน เด็กต่างด้าว ฯลฯ
       เด็กกลุ่มต่างๆที่กล่าวถึง เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ควรได้รับการดูแลเพิ่มเติมด้วยวิธีการพิเศษ ซึ่งต่างไปจากวิธีการตามปกติ เพื่อช่วยให้สามารถพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ได้ เพื่อให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี มีโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม และได้รับการยอมรับในสังคม
        คำว่า "เด็กพิเศษ" ในปัจจุบันมักหมายถึง กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องเท่านั้น ส่วนเด็กที่มีความสามารถพิเศษ กับกลุ่มเด็กยากจนและด้อยโอกาส มักไม่ค่อยเรียกว่าเป็นเด็กพิเศ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

วันพฤหัสบดี ที่ 30 มกราคม พ.ศ.2557

การเรียนการสอน
อาจารย์สอนเนื้อหา เรื่อง การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษเด็กกลุ่ม (Down’s syndrome)
 เด็กกลุ่ม (Down’s syndrome) สุปเนื้อหาได้ดังนี้
  • รักษาตามอาการ
  • แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
  • ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับตนปกติมากที่สุด
  • เน้นการดูแลแบบองค์รวม ( holistic approach)
การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กดาวน์ซินโดรม ดังนี้
1. ด้านสุขภาพอนามัย
    บิดามารดาพาบุตรไปพบแพทย์ ตั้งแต่เริ่มแรก ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ
2. การส่งเสริมพัฒนาการ
                เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
3. การดำรงชีวิตประจำวัน
     ฝึกให้ช่วยเหลือตนเอง
4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ
    ทางการแพทย์   การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
    ทางการศึกษา   แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP
    ทางสังคม     การฝึกทักษะการดำรงชีวิต
    ทางอาชีพ  โดยการฝึกอาชีพ
การเลี้ยงดูในช่วง 3 เดือนแรก
การปฏิบัติของบิดา มารดา ยอมรับความจริง
เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้น  เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
ให้ความรักและความอบอุ่น
การตรวจภายใน มะเร้งปากมดลูก เต้านม
การคุมกำเนิด การทำหมัน การสอนเพศศึกษา ตรวจโรคหัวใจ
เด็กกลุ่มอาการ Autistic
การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก ดังนี้
  • ส่งเสริมความเข้มแข้งครอบครัว  การสอนเพศศึกษาและการตรวจโรคหัวใจ
  • ส่งเสริมความสามารถของเด็ก มีบทบาทสำคัญที่สุด
  • การสื่อความหมายทดแทน (ACC)  ส่งเสริมความสามารถของเด็ก ให้ได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย และทำกิจกรรมที่หลากหลาย
  • ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy) ปรับพฤติกรรม ฝึกทักษะทางสังคม ให้รงเสริม
  • ตนตรีบำบัด    การฝึกพูด การสื่อความหมายทดแทน (ACC)
  • การฝังเข็ม การฝึกพูด การมีสมาธิ การฟัง การทำตามคำสั่ง
  • การบำบัดด้วยสัตว์ การรักษาด้วยยา Methylphnidate (Ritlin)ช่วยลดอาการไม่นิ่ง/ชนหุนหันพลันแล่น/ขาดสมาธิ 
สะท้อนการเรียน
            จากเนื้อหาที่เรียนทำให้เรารู้ว่าเด็กดาวน์ซินโดรมมีอาการอย่างไร เพื่อจะสามารถช่วย เหลือหรือบำบัดเด็กได้ทันท่วงทีเวลาเราได้ลงมือปฏิบัติจริงในการเรียนการสอน ซึ่งเนื้อหาที่อาจารย์นำมาสอนสำคัญกับเด็กที่มีความบกพร่องทางพันธุ์กรรมเป็นอย่างมาก เช่นเด็กลุ่มดาวน์ซินโดรม และเด็กที่มีอาการทางออทิสติก ทำให้ได้รับองค์ความรู้ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นๆและนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตต่อไป


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12

วันพฤหัสบดี ที่ 23 มกราคม พ.ศ.2557

การเรียนการสอน
       อาจารย์ให้นำเสนองานต่อจากสัปดาห์ก่อน ซึ่งกลุ่มดิฉันเป็นกลุ่มนำเสนอเรื่องเด็กออทิสติก
มีเนื้อหาดังนี้


      เด็ก Austitim  หมายถึง  เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โรคนี้เป็นความผิดปกติในสมองซึ่งมีอาการแสดงและความผิดปกติได้หลายรูปแบบ เด็กจะไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น การพัฒนาด้านภาษาและสติปัญญาก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้เด็กไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม เด็กทำบางสิ่งซ้ำๆ

       Autism คือ  โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก

สาเหตุของ Autism
       สมองของคนเราเริ่มสร้างและพัฒนาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งเกิด โดยแต่ละส่วนของสมองจะมีเซลล์ประสาท neuron ที่ทำหน้าที่พิเศษไปฝังตัว หลังจากนั้นเซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวมากขึ้น และมีใยประสาท fibers เป็นตัวเชื่อมเซลล์ประสาท สมองจะสั่งงานโดยการหลังสาร neurotransmitters ที่รอยต่อของเซลล์ประสาท

เด็กที่เป็น Autismจะมีลักษณะอาการ ดังนี้
อาการทางสังคม
       เมื่อยังเป็นเด็กจะมีการพัฒนาพฤติกรรมปกติกล่าวคือเด็กจะจ้องมองหน้าและตา หันไปตามเสียงหรือแสง จับนิ้วมือ ยิ้ม เด็กที่เป็น autism จะไม่สบตาพ่อแม่มักจะชอบอยู่คนเดียว เด็กไม่ชอบการกอดรัด เด็กจะเหมือนหุ่นไม่แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ ไม่ร้องไห้เมื่อแม่ออกนอกห้อง ไม่ดีใจเมื่อแม่กลับเข้ามา เด็กจะมีปัญหาการเรียนรู้ เด็กจะไม่รู้ความหมายของการยิ้ม ไม่เข้าใจภาษาทางร่างกาย

ปัญหาด้านภาษา
       เด็กปกติแรกคลอกจะมีการพูดแบบเด็กๆคืออ้อแอ้ไม่เป็นภาษา เมื่อโตขึ้นก็จะหัดพูดเป็นคำๆ  หันหน้าไปตามเสียงเรียกชื่อ ชี้สิ่งที่ตัวเองต้องการ เมื่อโตขึ้นเด็กก็จะพูดประโยคสั้นๆได้ ทำตามคำสั่งง่ายๆได้

พฤติกรมที่ทำซ้ำๆ
  • เด็ก autism จะมีร่างกายปกติแต่มักจะมีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆทำให้ไม่สามารถเล่นกับเด็กคนอื่น
  • เด็กอาจจะนั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมืออยู่เป็นชั่วโมง
  • เด็กนั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  • เด็กอาจจะมีพฤติกรรมที่ซ้ำๆ เช่นวิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโนน
  • เด็กอาจจะคว้ามือคนอื่นให้ดูนาฬิกาตัวเองอยู่ตลอดเวลา หรืออาจะเอาอุจาระออกจากห้องน้ำเข้าห้องเรียน
  • เด็กจะไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเช่น นั่งโต๊ะตัวเดียง กินอาหารเวลาเดียวกัน เด็กจะโกรธมากหากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป เช่นตำแหน่งของช้อน เก้าอี้ รูปภาพ
ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้
       เด็ก autism จะมีปัญหาเรื่องการรับรู้จากสัมผัสทั้ง 5ทำให้เด็กสับสน เด็กอาจจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อต้องสัมผัสบางอย่างเช่น  รูป  รส กลิ่น เสียง

ความสามารถพิเศษ
  • เด็ก autism บางคนมีความสามารถพิเศษหลายอย่างเช่น การวาดรูป ความจำ การเล่นดนตรี การอ่านหนังสือมากกว่าการพัฒนาของเด็กปกติ
  • การที่จะรู้ว่าเด็กมีพฤติกรรมผิดปกติต้องรู้พฤติกรรมปกติของเด็ก
       จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนสอบกลางภาค

สะท้อนการเรียน

       การฝึกเป็นผู้รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียนและการสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการนำเสนองานของเพื่อนเรื่องเด็กออทิสติก

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่11

วันพฤหัสบดี ที่ 15 มกราคม พ.ศ.2557

การเรียนการสอน
       ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเกิดเหตุการณ์บ้านเมืองทำให้นักศึกษาหลายๆคนมีปัญหาเรื่องการเดินทาง จึงไม่สามารถมีการเรียนการสอนได้ตามปกติ

   
ซึ่งงานที่อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาได้รับผิดชอบเป็นรายบุคคล มีดังนี้
      สรุปงานวิจัยที่หามาใส่กระดาษA4 ตามหัวข้อนี้  (กำหนดส่งภายในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557)
       1.ชื่องานวิจัย/ชื่อผู้วิจัย/มหาวิทยาลัย
       2.ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
       3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย
       4.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
       5.นิยามศัพท์เฉพาะ
       6.ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
       7.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
       8.การดำเนินการวิจัย
       9.สรุปผลการวิจัย
       10.ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่องานวิจัยชิ้นนี้

สะท้อนการเรียน
  •        การสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษางานวิจัย
  •        การรับผิดชอบในงานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้รับผิดชอบ
  •        การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมบทเรียนที่เราเรียนในห้อง  และการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10

วันพฤหัสบดี ที่ 9 มกราคม พ.ศ.2557

การเรียนการสอน
       อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนองานกลุ่ม ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ ดังนี้
       กลุ่มที่ 1 นำเสนองานเรื่อง ภาวะการเรียนบกพร่อง (LD) 
       กลุ่มที่ 2 นำเสนองานเรื่องเด็กพิการทางสมอง  (CP)
       กลุ่มที่ 3 นำเสนองานเรื่องเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (สมาธิสั้น)
       กลุ่มที่ 4 นำเสนองานเรื่องดาว์นซินโดรม

เนื้อหาที่อาจารย์สอนต่อจากสัปดาห์ก่อน มีเนื้อหาดังนี้
การประเมินที่ใช้ในการปฏิบัติ
  • แบบทดสอบ Denver ll
  • Gesell Drawiny Test
  • แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - ขวบ(สถาบันราชนุกูล)
แนวทางในการดูแลรักษา
  • หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
  • การรักษาสาเหตุโดยตรง
  • การส่งเสริมพัฒนาการ
  • ให้คำปรึกษากับครอบครัวในการหาแหล่งความรู้เพิ่มเติมต่างๆ

ขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • การตรวจคัดกรองพัฒนาการ
  • การตรวจประเมินพัฒนาการ
  • การให้บริการวินิจฉัยและหาสาเหตุ
  • การให้การศึกษาและส่งเสริมพัฒนาการ
  • การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ
สะท้อนการเรียน
       การได้สรุปองค์ความรู้ในห้องเรียนที่เพื่อนได้นำเสนองานการฝึกการนำเสนองานหน้าชั้นเรียนซึ่งทำให้เรากล้าแสดงออก และเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอก่อให้เกิดประโยชน์ในการศึกษา เนื่องจากเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับกลุ่มอาการเด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ ทำให้เราได้รับความรู้และนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสม