Welcome

วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 16

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ 2557

 ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์ของการสอบปลายภาค


วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันการเข้ารียน ครั้งที่ 15

วันพฤหัสบดี ที่  13  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557

การเรียนการสอน
       อาจารย์สอนเรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ (LD) ส่วนใหญ่มักมีปัญหาทางการเรียน ดังนี้
  •  การดูแลให้ความช่วยเหลือ
  •  การสร้างแรงทางบวก
  •   รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือน
  •   งานแผนการจัดนำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
  •   สังเกตติดตามความสามารถ และการมีส่วนร่วมในชั้น
  •   IEP

การรักษาด้วยยา
  •   Ritalin มีใช้ในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่
  •   Dexedrine ใช้ในต่างประเทศ
  •   Cylert   ใช้ในต่างประเทศ

หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ
  •   สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ (สคส)
  •   โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
  •    ศูนย์การศึกษาพิเศษ (Early Intervention)
  •    โรงเรียนเฉพาะความพิการ
  •     สถาบันราชานุกูล

      สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการดู DVO เรื่อง เรียนอย่างไรใช้ศูนย์การศึกษาพิเศษ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กพิเศษ  ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  ได้ดังนี้
พัฒนาการในการช่วยบำบัดและส่งเสริมสำหรับเด็กพิเศษ
       1. การเคลื่อนไหวผ่านกิจกรรม เช่นการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็ก ร่วมทั้งการพัฒนาทักษะการพูด โดยการใช้ดนตรีเข้ามาช่วยในกิจกรรม
       2. การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กหรือสติปัญญา เช่น การตอบคำถามหลังจากการเล่านิทานจบ  กิจกรรมการจำแนกของที่มีลักณะเหมือนกัน เป็นต้น
       3. ทักษะการเข้าใจ  ฝึกการออกเสียง เพื่อใช้ในการสื่อสาร โดยกิจกรรม อย่างเช่น พูดเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวหรือการเรียกชื่อของตัวเอง
       4. ทักษะการใช้ภาษา การฝึกการประสานการทำงานระหว่างมือกับตา รวมกับสื่อสารกับบุคคลอื่นได้
       5. ทักษะการช่วยเหลือตนเอง เช่นการฝึกทำอาหาร ขนม การรีดเสื้อผ้า ซึ่งการฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อเป็นความรู้ในการใช้ประกอบอาชีพได้ เช่น
  • โครงการที่ช่วยส่งเสริมและดูแลสำหรับเด็กพิเศษ
  • โครงการแม่ลูกผูกพัน
  • โครงการฝึกอาชีพ เด็กพิเศษสามารถช่วยเหลือและพึ่งตนเองได้

สะท้อนการเรียน
  •   การสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากเนื้อหาเด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ (LD)
  •   การรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น และการอภิปรายในเนื้อหาที่เรียน
  •    เข้าใจในเนื้อหาของเด็ก (LD) และวิธีการดูแล ร่วมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเข้ารเรียนครั้งที่ 14

วันพฤหัสบดี ที่  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557

       ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนไปศึกษาดูงาน

สะท้อนการเรียน
เด็กพิเศษ   Special Child
            เด็กพิเศษ มาจากคำเต็มว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษหมายถึงเด็กกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือเป็นพิเศษ เพิ่มเติมจากวิธีการตามปกติ ทั้งในด้าน การใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของเขาเอง โดยออกแบบการดูแล ช่วยเหลือเด็ก ตามลักษณะความจำเป็น และความต้องการของเด็กแต่ละคน
เด็กพิเศษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้
  • เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
  • เด็กที่มีความบกพร่อง
  • เด็กยากจนและด้อยโอกาส                                                         เด็กแต่ละกลุ่ม มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษเหมือนกัน แต่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละกลุ่ม แต่ละคน ในบทความนี้จะกล่าวถึงขอบเขตของเด็กพิเศษ แต่ละกลุ่มว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
  1. เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
  2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
  3. เด็กที่มีความบกพร่องทางการสื่อสา       
  4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และการเคลื่อนไหว
  5. เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์ และพฤติกรรม
  6. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disabilities)
  7. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities)
  8. เด็กออทิสติก (รวมถึงความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้านอื่นๆ - PDDs)
  9. เด็กที่มีความพิการซ้อน

         1 ) เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
       เด็กกลุ่มนี้มักไม่ค่อยได้รับการดูแล ช่วยเหลืออย่างจริงจัง เนื่องจาก เรามักคิดว่าพวกเขาเก่งแล้ว สามารถเอาตัวรอดได้ บางครั้งกลับไปเพิ่มความกดดันให้มากยิ่งขึ้น เพราะคิดว่าพวกเขาน่าจะทำได้มากกว่าที่เป็นอยู่อีก วิธีการเรียนรู้ในแบบปกติทั่วไป ก็ไม่ตอบสนองความต้องการในเรียนรู้ของเด็ก ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ทำให้ความสามารถพิเศษที่มีอยู่ไม่ได้แสดงออกอย่างเต็มศักยภาพ
เด็กที่มีความสามารถพิเศษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้
เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง คือ กลุ่มเด็กที่มี ระดับสติปัญญา (IQ) ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป
เด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน อาจไม่ใช่เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง แต่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านที่โดดเด่นกว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน อาจเป็นด้าน คณิตศาสตร์ - ตรรกศาสตร์ การใช้ภาษา ศิลปะ ดนตรี กีฬา การแสดง ฯลฯ
เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
         2) เด็กที่มีความบกพร่อง
       มีการแบ่งหลายแบบ ในที่นี้จะยึดตามแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ ที่แบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม ดังนี้
          3 ) เด็กยากจนและด้อยโอกาส
       คือเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน ขาดแคลนปัจจัยที่จำเป็นในการเจริญเติบโต และการเรียนรู้ของเด็ก และรวมถึงกลุ่มเด็กที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เด็กเร่ร่อน เด็กถูกใช้แรงงาน เด็กต่างด้าว ฯลฯ
       เด็กกลุ่มต่างๆที่กล่าวถึง เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ควรได้รับการดูแลเพิ่มเติมด้วยวิธีการพิเศษ ซึ่งต่างไปจากวิธีการตามปกติ เพื่อช่วยให้สามารถพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ได้ เพื่อให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี มีโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม และได้รับการยอมรับในสังคม
        คำว่า "เด็กพิเศษ" ในปัจจุบันมักหมายถึง กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องเท่านั้น ส่วนเด็กที่มีความสามารถพิเศษ กับกลุ่มเด็กยากจนและด้อยโอกาส มักไม่ค่อยเรียกว่าเป็นเด็กพิเศ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

วันพฤหัสบดี ที่ 30 มกราคม พ.ศ.2557

การเรียนการสอน
อาจารย์สอนเนื้อหา เรื่อง การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษเด็กกลุ่ม (Down’s syndrome)
 เด็กกลุ่ม (Down’s syndrome) สุปเนื้อหาได้ดังนี้
  • รักษาตามอาการ
  • แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
  • ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับตนปกติมากที่สุด
  • เน้นการดูแลแบบองค์รวม ( holistic approach)
การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กดาวน์ซินโดรม ดังนี้
1. ด้านสุขภาพอนามัย
    บิดามารดาพาบุตรไปพบแพทย์ ตั้งแต่เริ่มแรก ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ
2. การส่งเสริมพัฒนาการ
                เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
3. การดำรงชีวิตประจำวัน
     ฝึกให้ช่วยเหลือตนเอง
4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ
    ทางการแพทย์   การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
    ทางการศึกษา   แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP
    ทางสังคม     การฝึกทักษะการดำรงชีวิต
    ทางอาชีพ  โดยการฝึกอาชีพ
การเลี้ยงดูในช่วง 3 เดือนแรก
การปฏิบัติของบิดา มารดา ยอมรับความจริง
เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้น  เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
ให้ความรักและความอบอุ่น
การตรวจภายใน มะเร้งปากมดลูก เต้านม
การคุมกำเนิด การทำหมัน การสอนเพศศึกษา ตรวจโรคหัวใจ
เด็กกลุ่มอาการ Autistic
การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก ดังนี้
  • ส่งเสริมความเข้มแข้งครอบครัว  การสอนเพศศึกษาและการตรวจโรคหัวใจ
  • ส่งเสริมความสามารถของเด็ก มีบทบาทสำคัญที่สุด
  • การสื่อความหมายทดแทน (ACC)  ส่งเสริมความสามารถของเด็ก ให้ได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย และทำกิจกรรมที่หลากหลาย
  • ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy) ปรับพฤติกรรม ฝึกทักษะทางสังคม ให้รงเสริม
  • ตนตรีบำบัด    การฝึกพูด การสื่อความหมายทดแทน (ACC)
  • การฝังเข็ม การฝึกพูด การมีสมาธิ การฟัง การทำตามคำสั่ง
  • การบำบัดด้วยสัตว์ การรักษาด้วยยา Methylphnidate (Ritlin)ช่วยลดอาการไม่นิ่ง/ชนหุนหันพลันแล่น/ขาดสมาธิ 
สะท้อนการเรียน
            จากเนื้อหาที่เรียนทำให้เรารู้ว่าเด็กดาวน์ซินโดรมมีอาการอย่างไร เพื่อจะสามารถช่วย เหลือหรือบำบัดเด็กได้ทันท่วงทีเวลาเราได้ลงมือปฏิบัติจริงในการเรียนการสอน ซึ่งเนื้อหาที่อาจารย์นำมาสอนสำคัญกับเด็กที่มีความบกพร่องทางพันธุ์กรรมเป็นอย่างมาก เช่นเด็กลุ่มดาวน์ซินโดรม และเด็กที่มีอาการทางออทิสติก ทำให้ได้รับองค์ความรู้ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นๆและนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตต่อไป


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12

วันพฤหัสบดี ที่ 23 มกราคม พ.ศ.2557

การเรียนการสอน
       อาจารย์ให้นำเสนองานต่อจากสัปดาห์ก่อน ซึ่งกลุ่มดิฉันเป็นกลุ่มนำเสนอเรื่องเด็กออทิสติก
มีเนื้อหาดังนี้


      เด็ก Austitim  หมายถึง  เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โรคนี้เป็นความผิดปกติในสมองซึ่งมีอาการแสดงและความผิดปกติได้หลายรูปแบบ เด็กจะไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น การพัฒนาด้านภาษาและสติปัญญาก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้เด็กไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม เด็กทำบางสิ่งซ้ำๆ

       Autism คือ  โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก

สาเหตุของ Autism
       สมองของคนเราเริ่มสร้างและพัฒนาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งเกิด โดยแต่ละส่วนของสมองจะมีเซลล์ประสาท neuron ที่ทำหน้าที่พิเศษไปฝังตัว หลังจากนั้นเซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวมากขึ้น และมีใยประสาท fibers เป็นตัวเชื่อมเซลล์ประสาท สมองจะสั่งงานโดยการหลังสาร neurotransmitters ที่รอยต่อของเซลล์ประสาท

เด็กที่เป็น Autismจะมีลักษณะอาการ ดังนี้
อาการทางสังคม
       เมื่อยังเป็นเด็กจะมีการพัฒนาพฤติกรรมปกติกล่าวคือเด็กจะจ้องมองหน้าและตา หันไปตามเสียงหรือแสง จับนิ้วมือ ยิ้ม เด็กที่เป็น autism จะไม่สบตาพ่อแม่มักจะชอบอยู่คนเดียว เด็กไม่ชอบการกอดรัด เด็กจะเหมือนหุ่นไม่แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ ไม่ร้องไห้เมื่อแม่ออกนอกห้อง ไม่ดีใจเมื่อแม่กลับเข้ามา เด็กจะมีปัญหาการเรียนรู้ เด็กจะไม่รู้ความหมายของการยิ้ม ไม่เข้าใจภาษาทางร่างกาย

ปัญหาด้านภาษา
       เด็กปกติแรกคลอกจะมีการพูดแบบเด็กๆคืออ้อแอ้ไม่เป็นภาษา เมื่อโตขึ้นก็จะหัดพูดเป็นคำๆ  หันหน้าไปตามเสียงเรียกชื่อ ชี้สิ่งที่ตัวเองต้องการ เมื่อโตขึ้นเด็กก็จะพูดประโยคสั้นๆได้ ทำตามคำสั่งง่ายๆได้

พฤติกรมที่ทำซ้ำๆ
  • เด็ก autism จะมีร่างกายปกติแต่มักจะมีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆทำให้ไม่สามารถเล่นกับเด็กคนอื่น
  • เด็กอาจจะนั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมืออยู่เป็นชั่วโมง
  • เด็กนั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  • เด็กอาจจะมีพฤติกรรมที่ซ้ำๆ เช่นวิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโนน
  • เด็กอาจจะคว้ามือคนอื่นให้ดูนาฬิกาตัวเองอยู่ตลอดเวลา หรืออาจะเอาอุจาระออกจากห้องน้ำเข้าห้องเรียน
  • เด็กจะไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเช่น นั่งโต๊ะตัวเดียง กินอาหารเวลาเดียวกัน เด็กจะโกรธมากหากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป เช่นตำแหน่งของช้อน เก้าอี้ รูปภาพ
ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้
       เด็ก autism จะมีปัญหาเรื่องการรับรู้จากสัมผัสทั้ง 5ทำให้เด็กสับสน เด็กอาจจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อต้องสัมผัสบางอย่างเช่น  รูป  รส กลิ่น เสียง

ความสามารถพิเศษ
  • เด็ก autism บางคนมีความสามารถพิเศษหลายอย่างเช่น การวาดรูป ความจำ การเล่นดนตรี การอ่านหนังสือมากกว่าการพัฒนาของเด็กปกติ
  • การที่จะรู้ว่าเด็กมีพฤติกรรมผิดปกติต้องรู้พฤติกรรมปกติของเด็ก
       จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนสอบกลางภาค

สะท้อนการเรียน

       การฝึกเป็นผู้รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมภายในห้องเรียนและการสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากการนำเสนองานของเพื่อนเรื่องเด็กออทิสติก

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่11

วันพฤหัสบดี ที่ 15 มกราคม พ.ศ.2557

การเรียนการสอน
       ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเกิดเหตุการณ์บ้านเมืองทำให้นักศึกษาหลายๆคนมีปัญหาเรื่องการเดินทาง จึงไม่สามารถมีการเรียนการสอนได้ตามปกติ

   
ซึ่งงานที่อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาได้รับผิดชอบเป็นรายบุคคล มีดังนี้
      สรุปงานวิจัยที่หามาใส่กระดาษA4 ตามหัวข้อนี้  (กำหนดส่งภายในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557)
       1.ชื่องานวิจัย/ชื่อผู้วิจัย/มหาวิทยาลัย
       2.ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
       3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย
       4.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
       5.นิยามศัพท์เฉพาะ
       6.ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
       7.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
       8.การดำเนินการวิจัย
       9.สรุปผลการวิจัย
       10.ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่องานวิจัยชิ้นนี้

สะท้อนการเรียน
  •        การสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษางานวิจัย
  •        การรับผิดชอบในงานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้รับผิดชอบ
  •        การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมบทเรียนที่เราเรียนในห้อง  และการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10

วันพฤหัสบดี ที่ 9 มกราคม พ.ศ.2557

การเรียนการสอน
       อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนองานกลุ่ม ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มเด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ ดังนี้
       กลุ่มที่ 1 นำเสนองานเรื่อง ภาวะการเรียนบกพร่อง (LD) 
       กลุ่มที่ 2 นำเสนองานเรื่องเด็กพิการทางสมอง  (CP)
       กลุ่มที่ 3 นำเสนองานเรื่องเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (สมาธิสั้น)
       กลุ่มที่ 4 นำเสนองานเรื่องดาว์นซินโดรม

เนื้อหาที่อาจารย์สอนต่อจากสัปดาห์ก่อน มีเนื้อหาดังนี้
การประเมินที่ใช้ในการปฏิบัติ
  • แบบทดสอบ Denver ll
  • Gesell Drawiny Test
  • แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - ขวบ(สถาบันราชนุกูล)
แนวทางในการดูแลรักษา
  • หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
  • การรักษาสาเหตุโดยตรง
  • การส่งเสริมพัฒนาการ
  • ให้คำปรึกษากับครอบครัวในการหาแหล่งความรู้เพิ่มเติมต่างๆ

ขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • การตรวจคัดกรองพัฒนาการ
  • การตรวจประเมินพัฒนาการ
  • การให้บริการวินิจฉัยและหาสาเหตุ
  • การให้การศึกษาและส่งเสริมพัฒนาการ
  • การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ
สะท้อนการเรียน
       การได้สรุปองค์ความรู้ในห้องเรียนที่เพื่อนได้นำเสนองานการฝึกการนำเสนองานหน้าชั้นเรียนซึ่งทำให้เรากล้าแสดงออก และเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอก่อให้เกิดประโยชน์ในการศึกษา เนื่องจากเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับกลุ่มอาการเด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ ทำให้เราได้รับความรู้และนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสม


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 9

วันพฤหัสบดี ที่ 2 มกราคม พ.ศ.2557



           ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดของเทศกาลปีใหม่


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 8

วันพฤหัสบดี ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2556


       ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก...เป็นการแข่งขันกีฬาบุคคลกรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประจำปี 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 7

วันพฤหัสบดี ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2556

ไม่มีการเรียนการสอนเป็นสัปดาห์ของการสอบกลางภาค 


บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดี ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2556

เนื้อหาการเรียนการสอนที่ได้รับ
พัฒนาการ
  • การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
  • ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
  • พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้านหรือทุกด้าน
  • พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
  • ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
  • ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
  • ปัจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด

สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคของระบบประสาท
  • ติดเชื้อ
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
  • ภาวะแทรกซ้อนระยะเเรกเกิด
  • สารเคมี  ได้แก่ ตะกั่ว/แอลกอฮอล์/Fetal alcohol syndrome (FAS)/นิโคติน
  • การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
  • อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • มีพัฒนาการล่าช้า ซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
  • ปฏิกิริยาสะท้อน (primtive reflex) ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป

แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
กล่าวโดยสรุปเมื่อซักประวัติแล้วจะทำให้สามารถบอกได้ว่า
1. ลักษณะพัฒนาการล่าช้าดังกล่าวเป็นแบบคงที่ (static) หรือถดถอย
            2. เด็กมีระดับพัฒนาการช้าจริงหรือไม่ อย่างไร อยู่ในระดับไหน
            3. มีข้อบ่งชี้ว่าจะมีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
            4. สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
            5. ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างไร
2. การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายที่สำคัญและอาจสัมพันธ์กับความบกพร่องทางพัฒนาการ ได้แก่
            2.1 ตรวจร่างกายทั่วๆไปทุกระบบ และการเจริญเติบโตที่อาจบ่งชี้สาเหตุที่ทำให้เด็กมีความบกพร่องทางพัฒนาการได้ เช่น ตรวจดูลักษณะผิดรูปของรูปร่างหน้าตา
            2.2  ภาวะตับม้ามโต  ซึ่งบ่งชี้ถึงภาวะ inborn error บางชนิด
            2.3 ผิวหนัง เช่น cutaneous markers ได้แก่ café-au-lait spots บ่งถึง tuberous sclerosis ซึ่งเป็นสาเหตุของพัฒนาการล่าช้าได้
            2.4 ระบบประสาทต่างๆ โดยละเอียดและวัดรอบศีรษะด้วยเสมอเพื่อที่จะสามารถตรวจพบเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการที่มีความรุนแรงไม่มากนัก
            2.5 ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (child abuse) เพราะเด็กพิเศษถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงอย่างหนึ่ง
            2.6 ระบบการมองเห็นและการได้ยินเพราะเป็นความพิการซ้ำซ้อนที่พบร่วมได้บ่อย
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
            3.1 การตรวจทางห้องปฏิบัติการพันธุกรรม
            3.2 การตรวจรังสีทางระบบประสาท
            3.3 การตรวจทางเมตาบอลิก
4. การประเมินพัฒนาการ
            4.1 การประเมินแบบไม่เป็นทางการ
            4.2 การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
            4.3 แบบทดสอบ Denver ll
            4.4 Gesell Drawing Test
            4.5 แบบประเมินพัฒนาเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด- 5 ปี
            4.6 สถาบันราชานุกูล
สะท้อนการเรียน
การประเมินพัฒนาการเด็กได้เหมาะสมตามวัยและได้นำความรู้ที่ได้รับในชั้นเรียนมาประยุกต์ใช้แล้วนำมาเป็นองค์ความรู้ต่อในรายวิชาอื่นต่อไปในอนาคต  รู้วิธีการแก้พฤติกรรมหรือกลุ่มอาการความผิดปกติในเด็กได้ทันท่วงทีและนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ได้เหมาะสมกับกลุ่มอาการ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่5

วันพฤหัสบดี ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ไม่มีการเรียนการสอน

     เนื่องจากเป็นวันหยุดราชการ 5 ธันวาคม (วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่4

เนื้อหาการเรียนการสอน
   บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ หมายถึง บุคคลที่มีอารมณ์และพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติเป็นอย่างมาก และปัญหาทางพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคมส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กและผู้อื่นเป็นผลมาจากความขัดแย้งของเด็กกับสภาพแวดล้อมหรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตัวเด็กเองขาดสัมพันธภาพกับเพื่อนหรือผู้อื่นความเก็บกดทางอารมณ์จะแสดงออกทางร่างกาย 
           เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หมายถึงความผิดปกติที่มีลักษณะความหลากหลายที่ปรากฏให้เด่นชัดถึงความยากลำบากในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การให้เหตุผลและความสามารถทางคณิตศาสตร์  ความผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้นภายในตัวเด็กเองโดยมีสาเหตุสำคัญมาจากความบกพร่องของระบบประสาทส่วนกลาง ปัญหาบางอย่างอาจมีไปตลอดชีวิตของบุคคลนั้น
           เด็กออทิสติก หมายถึง เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นโรคนี้เป็นความผิดปกติในสมองซึ่งมีอาการแสดงและความผิดปกติได้หลายรูปแบบเด็กจะไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น การพัฒนาด้านภาษาและสติปัญญาก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้เด็กไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม เด็กทำบางสิ่งซ้ำๆ
           บุคคลพิการซ้อน (Mutiple Handcapped) หมายถึงบุคคลที่มีความบกพร่องหรือความพิการมากกว่าหนึ่งประเภท ในบุคคลเดียวกัน เช่น คนปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยินเป็นต้นหรือเด็กอาจจะมีปัญหาในด้านการเรียนรู้การควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย การได้ยิน และการมองเห็น เด็กแต่ละคนที่มีความพิการซ้อนจะมีลักษณะแตกต่างกัน และมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไปด้วย เช่น  ปัญหาในการเคลื่อนไหว

           อาจารย์ให้นักศึกษาดู VDO   เรื่อง ผลิบานผ่านมือครู : เราคือครอบครัวเดียวกัน  ผศ.กานดา โต๊ะถม , คุณครูขวัญดาว การะหงษ์ ศูนย์การศึกษาพิเศษ รร.สาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต  พร้อมสรุปเป็นองค์ความรู้

สะท้อนการเรียน

การปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติในห้องทันเวลาและฝึกการวางแผนงาน การนำความรู้ที่ได้เรียนในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษมาปรับใช้ในการประกอบการเรียนการสอนในอนาคตให้เกิดประโยชน์ที่สุด
งานที่ได้รับมอบหมาย
   

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 3

วันพฤหัสบดี ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เนื้อหาการเรียนการสอน มีดังนี้
บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือสุขภาพ
      บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือสุขภาพ  หมายถึง  บุคคลที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวอวัยวะไม่สมส่วน  อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนขาดหายไป  กระดูกและกล้ามเนื้อพิการ  เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง  มีความพิการของระบบประสาท  มีความลำบากในการเคลื่อนไหว  ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาในสภาพปกติและต้องอาศัยการฝึกฝน  การใช้เครื่องมือ  วัสดุ  อุปกรณ์หรือต้องการ       เครื่องอำนวยความสะดวกเข้าช่วย  สามารถจำแนกได้ 2ประเภท
1. อาการบกพร่องทางร่างกาย ที่มักพบบ่อย
1. ซีพี หรือ ซีรีรัล พัลซี (C.P. : Cerebral Passy) หมายถึง การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการหรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด อันเนื่องมาจากการขาดอากาศ ออกซิเจนฯ เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆ ของสมองแตกต่างกัน ที่พบส่วนใหญ่ คือ
                        1.1 อัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก (Spastic)
                        1.2 อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid) จะควบคุมการเคลื่อนไหวและบังคับไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้
                        1.3 อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia) การประสานงานของอวัยวะไม่ดี
                        1.4 อัมพาตตึงแข็ง (Rigid) การเคลื่อนไหวแข็งช้า ร่างการมีการสั่นกระตุกอย่างบังคับไม่ได้
                        1.5 อัมพาตแบบผสม (Mixed)
2. กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) เกิดจากประสาทสมองที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ เสื่อมสลายตัว โดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้กล้ามเนื้อแขนขาจะค่อย ๆ อ่อนกำลัง เด็กจะเดินหกล้มบ่อย
3. โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ที่พบบ่อย ได้แก่
                        3.1 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด
                        3.2 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง
                        3.3 กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ มีความพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
4. โปลิโอ (Poliomyelitis) เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกายทางปาก แล้วไปเจริญต่อมน้ำเหลืองในลำคอ ลำไส้เล็ก และเข้าสู่กระแสเลือดจนถึงระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อเซลล์ประสาทบังคับกล้ามเนื้อถูกทำลาย แขนหรือขาจะไม่มีกำลังในการเคลื่อนไหว
5. แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency) รวมถึงเด็กที่เกิดมาด้วยลักษณะของอวัยวะที่มีความเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น นิ้วมือติดกัน 3-4 นิ้ว มีแค่แขนท่อนบนต่อกับนิ้วมือ ไม่มีข้อศอก หรือเด็กที่แขนขาด้วนเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ และการเกิดอันตรายในวัยเด็ก
6. โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta) เป็นผลทำให้เด็กไม่เจริญเติบโตสมวัย ตัวเตี้ย มีลักษณะของกระดูกผิดปกติ กระดูกยาวบิดเบี้ยวเห็นได้ชุดจากระดูกหน้าแข็ง
2. ความบกพร่องทางสุขภาพ ที่มักพบบ่อย
1. โรคสมชัก (Epilepsy) เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมองที่พบบ่อยมีดังนี้
                        1.1 ลมบ้าหมู (Grand Mal)
                        1.2 การชักในช่วยเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
                        1.3 การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
                        1.4 อาการชักแบบพาร์ชัล คอมเพล็กซ์ (Partial Complex)
                        1.5 อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
2. โรคระบบทางเดินหายใจโดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด (Asthma) เช่น หอบหืด วัณโรค ปอดบวม
3. โรคเบาหวานในเด็ก เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติ เพราะขาดอินชูลิน
4. โรคข้ออักเสบรูมาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ
5. โรคศีรษะโต เนื่องมาจากน้ำคั่งในสมอง ส่วนมากเป็นมาแต่กำเนิด ถ้าได้รับการวินิจฉัยโรคเร็วและรับการรักษาอย่างถูกต้องสภาพความพิการจะไม่รุนแรง เด็กสามารถปรับสภาพได้และมีพื้นฐานทางสมรรถภาพดีเช่นเด็กปกติ
6. โรคหัวใจ (Cardiac Conditions) ส่วนมากเป็นตั้งแต่กำเนิด เด็กจะตัวเล็กเติบโตไม่สมอายุ ซีดเซียว เหนื่อยหอบง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรงตั้งแต่กำเนิด
7. โรคมะเร็ง (Cancer) ส่วนมากเป็นมะเร็งเม็ดโลหิต และเนื้องอกในดวงตา สมอง กระตูก และไต
8. บาดเจ็บแล้วเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านการพูดทั้งในเรื่องการเข้าใจภาษาที่คนอื่นพูดและพูดให้คนอื่นเข้าใจ เป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งต่อการรับรู้และเรียนรู้พัฒนาทักษะทุกๆ จำแนกได้ดังนี้
1. ความผิดปกติด้านการออกเสียง
2. ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด
3. ความผิดปกติด้านเสียง
4. ความผิดปกติด้านการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่าDysphasia หรือ aphasia ที่ควรรู้จักได้แก่ มีดังนี้
                        4.1 Motor aphasia (Expressive หรือ Broca’s apasia) หมายถึงผู้ที่เข้าใจคำถาม หรือคาสั่ง แต่พูดไม่ได้ ออกเสียงลาบาก พูดช้า ๆ พอพูดตามได้บ้างเล็กน้อย
                        4.2 Wernicke’s aphasia (Sensory หรือ Receptive aphasia) หมายถึงผู้ที่ไม่เข้าใจคำถาม หรือคำสั่ง ได้ยินแต่ไม่เข้าใจความหมาย
                        4.3 Conduction aphasia หมายถึงผู้ที่ออกเสียงได้ไม่ติดขัด เข้าใจคาถามดี แต่พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้ มักเกิดร่วมไปกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา
                        4.4 Nominal aphasia (Anomic aphasia) หมายถึงผู้ที่ออกเสียงได้ เข้าใจคาถามดี พูดตามได้ แต่บอกชื่อวัตถุไม่ได้ เพราะลืมชื่อ บางทีก็ไม่เข้าใจความหมายของคำ
                        4.5 Global aphasia หมายถึงผู้ที่ไม่เข้าใจทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน พูดไม่ได้เลย
                        4.6 Sensory agraphia หมายถึงผู้ที่เขียนเองไม่ได้ เขียนตอบคาถามหรือเขียนชื่อวัตถุก็ไม่ได้ มักเกิดร่วมกับ Gerstmann’s syndrome
                        4.7 Motor agraphia หมายถึงผู้ที่ลอกตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ไม่ได้ และเขียนตามคาบอกไม่ได้ เพราะมี apraxia ของมือ
                         4.8 Cortical alexia (Sensory alexia) หมายถึงผู้ที่อ่านไม่ออก เพราะไม่เข้าใจภาษา
                        4.9 Motor alexia หมายถึงผู้ที่เห็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ เข้าใจความหมาย แต่อ่านออกเสียงไม่ได้
                        4.10 Gerstmann’s syndrome หมายถึงผู้ที่ไม่รู้ชื่อนิ้ว ไม่รู้ซ้ายขวา ทำคำนวณไม่ได้เขียนไม่ได้อ่านไม่ออก
                        4.11 Visual agnosia หมายถึงผู้ที่มองเห็นวัตถุ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร บางทีบอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้
                        4.12 Auditory agnosia (word deafness) หมายถึงผู้ที่ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยินแต่แปลความหมายของคา หรือประโยคที่ได้ยินไม่เข้าใจ
สะท้อนการเรียน
-        ทำให้เกิดการพัฒนาความคิด และรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-        ทำให้รู้จักการแบ่งเวลา และการตรงต่อเวลา
-        ทำให้รู้จักการแก้ปัญหาต่างๆโดยเฉพาะการแก้ปัญหาเด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆได้ถูกวิธี

-         ทำให้รู้ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องในด้านต่างๆ