Welcome

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

วันพฤหัสบดี ที่ 30 มกราคม พ.ศ.2557

การเรียนการสอน
อาจารย์สอนเนื้อหา เรื่อง การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษเด็กกลุ่ม (Down’s syndrome)
 เด็กกลุ่ม (Down’s syndrome) สุปเนื้อหาได้ดังนี้
  • รักษาตามอาการ
  • แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
  • ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับตนปกติมากที่สุด
  • เน้นการดูแลแบบองค์รวม ( holistic approach)
การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กดาวน์ซินโดรม ดังนี้
1. ด้านสุขภาพอนามัย
    บิดามารดาพาบุตรไปพบแพทย์ ตั้งแต่เริ่มแรก ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ
2. การส่งเสริมพัฒนาการ
                เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
3. การดำรงชีวิตประจำวัน
     ฝึกให้ช่วยเหลือตนเอง
4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ
    ทางการแพทย์   การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
    ทางการศึกษา   แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP
    ทางสังคม     การฝึกทักษะการดำรงชีวิต
    ทางอาชีพ  โดยการฝึกอาชีพ
การเลี้ยงดูในช่วง 3 เดือนแรก
การปฏิบัติของบิดา มารดา ยอมรับความจริง
เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้น  เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
ให้ความรักและความอบอุ่น
การตรวจภายใน มะเร้งปากมดลูก เต้านม
การคุมกำเนิด การทำหมัน การสอนเพศศึกษา ตรวจโรคหัวใจ
เด็กกลุ่มอาการ Autistic
การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก ดังนี้
  • ส่งเสริมความเข้มแข้งครอบครัว  การสอนเพศศึกษาและการตรวจโรคหัวใจ
  • ส่งเสริมความสามารถของเด็ก มีบทบาทสำคัญที่สุด
  • การสื่อความหมายทดแทน (ACC)  ส่งเสริมความสามารถของเด็ก ให้ได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย และทำกิจกรรมที่หลากหลาย
  • ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy) ปรับพฤติกรรม ฝึกทักษะทางสังคม ให้รงเสริม
  • ตนตรีบำบัด    การฝึกพูด การสื่อความหมายทดแทน (ACC)
  • การฝังเข็ม การฝึกพูด การมีสมาธิ การฟัง การทำตามคำสั่ง
  • การบำบัดด้วยสัตว์ การรักษาด้วยยา Methylphnidate (Ritlin)ช่วยลดอาการไม่นิ่ง/ชนหุนหันพลันแล่น/ขาดสมาธิ 
สะท้อนการเรียน
            จากเนื้อหาที่เรียนทำให้เรารู้ว่าเด็กดาวน์ซินโดรมมีอาการอย่างไร เพื่อจะสามารถช่วย เหลือหรือบำบัดเด็กได้ทันท่วงทีเวลาเราได้ลงมือปฏิบัติจริงในการเรียนการสอน ซึ่งเนื้อหาที่อาจารย์นำมาสอนสำคัญกับเด็กที่มีความบกพร่องทางพันธุ์กรรมเป็นอย่างมาก เช่นเด็กลุ่มดาวน์ซินโดรม และเด็กที่มีอาการทางออทิสติก ทำให้ได้รับองค์ความรู้ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นๆและนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น